ความสำคัญของทันตกรรมเด็ก

เด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ ไม่ใช่แค่เรื่องความคิดความอ่าน แต่ร่างกายเองก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฟันเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่เด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างมาก ฟันน้ำนมในเด็กนั้นซี่เล็ก อีกทั้งโครงสร้างภายในยังแตกต่างกับฟันแท้ ทำให้จำเป็นต้องมี “ทันตกรรมเด็ก” โดยเฉพาะขึ้นมา ทันตกรรมเด็ก (Pedodontics) คือการรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นมา ในช่วงอายุประมาณ 6 – 8 เดือน ไปจนถึงช่วงวัยรุ่นตอนกลางอายุประมาณ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นมาแทนฟันน้ำนมทั้งหมดแล้ว (ยกเว้นฟันกรามซี่ในสุด 4 ซี่ ที่จะขึ้นมาในช่วงอายุประมาณ 18 ปี) โดยทันตกรรมเด็ก จะเน้นไปที่การดูแลฟันน้ำนมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการแนะนำในการดูแลฟันน้ำนม การทำทันตกรรมเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ และรักษาฟันผุ

ในทางทันตกรรมจะแบ่งเด็กๆออกเป็น 3 ช่วงวัยตามพัฒนาการของฟัน ดังนี้

  1. ทำฟันเด็กเล็ก

เด็กเล็ก หมายถึง เด็กในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน – 2 ปี เป็นช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นและขึ้นจนครอบ เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากนัก ทันตกรรมในช่วงนี้จึงจะเน้นเรื่องการแนะนำในการดูแลฟันน้ำนมให้กับคุณพ่อคุณแม่ ส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำในเรื่องการทำความสะอาดฟันน้ำนม พฤติกรรมการกินนมหรือใช้ขวดนมที่ดีต่อฟันน้ำนม การเลิกนมมือดึก การเลิกขวดนม การเลือกอาหารว่างที่เหมาะสมกับฟันของเด็ก

  1. ทำฟันเด็กวัยอนุบาล

เด็กวัยอนุบาล เป็นเด็กในช่วงอายุประมาณ 3 – 6 ปี เป็นช่วงของการดูแลฟันน้ำนมเมื่อขึ้นครบแล้ว เด็กในวัยนี้เริ่มดูแลรักษาฟันด้วยตัวเองได้แล้ว และเป็นวัยที่เริ่มพบฟันผุจนมีอาการปวดฟันได้เช่นกัน การทำฟันเด็กในวัยนี้จะเน้นที่การแนะนำให้เด็กรู้จักกับเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ดูแลรักษาฟัน และวิธีการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการทำทันตกรรมให้เด็ก

โดยสิ่งที่แนะนำจะมีตั้งแต่การแปรงฟัน ขัดฟัน ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ไปจนถึงทันตกรรมเด็กอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเด็กๆ เริ่มคุ้นเคย และในการทำฟันแต่ละครั้ง ทันตแพทย์จะไม่ทำฟันนาน แต่จะนัดพบหลายครั้งแทน เพื่อไม่ให้เด็กวัยนี้เครียดจนเกินไป เมื่อเด็กคุ้นเคยมากขึ้นจึงจะเริ่มเพิ่มเวลา

  1. ทำฟันเด็กโต

เด็กโต คือเด็กในช่วงอายุประมาณ 7 – 12 ปี เป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม และเป็นช่วงที่เด็กโตพอที่จะดูแลตัวเองได้อย่างดี และสามารถควบคุมตนเองได้ระหว่างการทำฟัน ทันตกรรมเด็กที่จะทำในเด็กโต จะเน้นไปที่การแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟันแท้ อย่างข้อควรระวังเกี่ยวกับการดูแลฟันหน้า การป้องกันฟันแท้ผุโดยเฉพาะที่ฟันกรามแท้ เป็นต้น

ทันตกรรมเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากฟันน้ำนมในเด็กกับฟันแท้ในผู้ใหญ่มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน การทำฟันเด็กจะเน้นดูแลและป้องกันฟันผุเป็นหลัก เนื่องจากลักษณะของฟันน้ำนมนั้น ผุได้ง่ายกว่าฟันแท้ อีกทั้งตัวฟันก็ซี่เล็กกว่าฟันแท้ด้วย

นอกจากนี้ เด็กยังเป็นวัยที่ไม่สามารถแยกความเจ็บปวด ออกจากความกลัวหรือความเครียดได้ เมื่อมีอาการปวดฟันหรือรู้สึกกดดันเมื่อทำฟันก็จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฟันเด็กจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องจิตวิทยาการสื่อสารกับเด็กๆ ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างกับทันตกรรมในผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก https://www.willdentdentalclinic.com/our-services/pediatric-dentistry/

วิธีเลือกดัมเบลให้เหมาะสม ช่วยเสริมหุ่นปัง

5 วิธีเลือกดัมเบลให้เหมาะสม ช่วยเสริมหุ่นปัง
1. เลือกให้เหมาะกับรูปแบบการออกกำลังกาย

เริ่มต้นด้วยการเลือกดัมเบลให้เหมาะกับรูปแบบการออกกำลังกายที่ต้องการ เช่น เป็นเซ็ตแบบต่อเนื่อง หรือใช้ประกอบการออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ เช่น โยคะหรือพิลาทิส จะช่วยให้เลือกประเภทดัมเบล วัสดุ และน้ำหนักให้เหมาะสมได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย
2. เลือกที่ประเภทของดัมเบล

ประเภทของดัมเบลเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ช่วยให้เลือกดัมเบลได้เหมาะกับการออกกำลังกายมากขี้น โดยปกติจะมีให้เลือกทั้งหมด 2 ประเภท ซึ่งจะเหมาะกับผู้เริ่มต้น หรือผู้ที่ฝึกเวทเทรนนิ่งมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แบ่งได้ดังต่อไปนี้

2.1 ดัมเบลแบบปรับน้ำหนักไม่ได้ (Fixed Dumbbells) เป็นดัมเบลที่ไม่สามารถปรับน้ำหนักได้ มักจะเหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นออกกำลังกาย และเน้นความทนทานของกล้ามเนื้อมากกว่าขนาด มักมีน้ำหนักไม่มากนัก เช่น 2 กิโลกรัม

2.2 ดัมเบลแบบปรับน้ำหนักได้ (Adjustable Dumbbells) เหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและอยากจัดโปรแกรมเวทเทรนนิ่งให้เข้ากับตัวเอง ดัมเบลแบบนี้จะลดหรือเพิ่มขนาดได้ตามต้องการ เหมาะกับใครที่คิดว่าจะออกกำลังกายด้วยดัมเบลในระยะยาว
3. เลือกที่น้ำหนัก

เนื่องจากดัมเบลเป็นอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักให้เลือกหลายระดับ จึงควรเลือกตามความสามารถในการออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นผู้ชายควรเริ่มที่น้ำหนัก 5-10 กิโลกรัม และผู้หญิงเริ่มที่ 2-3 กิโลกรัม เพื่อไม่ให้หนักหรือเบาจนเกินไป เมื่อออกกำลังกายไปได้สักระยะหนึ่งจนกล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว จึงค่อย ๆ เปลี่ยนให้มีน้ำหนักมากขึ้นประมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักเดิม แต่ก็ไม่ควรฝืนใช้ดัมเบลที่มีน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
4. เลือกที่วัสดุ

นอกจากจะต้องเลือกดัมเบลตามประเภทที่เหมาะกับรูปแบบการออกกำลังกายของเราแล้ว วัสดุที่เลือกใช้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะส่งผลต่อการใช้งาน และการบำรุงรักษา โดยวัสดุหลัก ๆ ที่ใช้ผลิตดัมเบล มีดังต่อไปนี้

4.1 เหล็ก เป็นวัสดุที่พบได้บ่อยในดัมเบลแบบเปลี่ยนน้ำหนักได้ มีจุดเด่นที่ความแข็งแรง ทนทาน หาซื้อได้ง่าย แต่มีข้อเสียที่เสียงดัง และเสี่ยงต่อการเกิดสนิมได้ง่ายกว่า ควรใช้งานในพื้นที่เฉพาะ เช่น ห้องที่ปูพื้นยางฟิตเนส

4.2 เหล็กหุ้มยาง เป็นดัมเบลที่ผลิตจากเหล็กแต่หุ้มยางไว้ภายนอก ซึ่งช่วยป้องกันเสียงดัง หรือรอยกระแทกเมื่อตกหล่น อีกทั้งยังช่วยให้จับถนัดมือ ทำความสะอาดง่าย แต่มีราคาสูงกว่าดัมเบลเหล็กทั่วไป

4.3 ยางหรือพลาสติก เป็นวัสดุที่พบได้บ่อยในดัมเบลแบบปรับน้ำหนักไม่ได้ มักผลิตจากพลาสติกหรือ PVC มีขนาดเล็กและทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังหาซื้อได้สะดวกอีกด้วย

5. เลือกที่การจัดเก็บ

สุดท้ายเป็นเรื่องการจัดเก็บ สำหรับใครที่ใช้ดัมเบลเป็นชุด ควรเลือกแบบที่มีกระเป๋าหรือกล่องจัดเก็บ หรือจะเป็นดัมเบลที่มาพร้อมชั้นวางก็ได้เหมือนกัน เพราะช่วยให้จัดวางในบ้านได้สะดวกมากขึ้น ไม่เกะกะพื้นที่ในบ้าน หรือหากจะนำไปออกกำลังกายนอกบ้าน ก็เคลื่อนย้ายได้สะดวก เพียงยกไปพร้อมกันทั้งชุด